ปริซึม
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีหน้าตัด (ฐาน) ทั้งสองเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการและอยู่ในระนาบที่ขนานกัน มีหน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เรียกว่า ปริซึม
1.
การเรียกชื่อปริซึม
ปริซึมมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับหน้าตัดของรูปนั้นๆ
การเรียกชื่อปริซึมนิยมเรียกชื่อตามลักษณะรูปเหลี่ยมของฐาน
2. ส่วนประกอบของปริซึม
3. พื้นที่ผิวของปริซึม
3.1) พื้นที่ผิวข้าง
พื้นที่ผิวข้างของปริซึม = ความยาวเส้นรอบฐาน × ความสูง
3.2) พื้นที่ผิว
พื้นที่ผิวทั้งหมดของปริซึม = พื้นที่ผิวข้าง + พื้นที่หน้าตัดหัวท้าย
4. ปริมาตรของปริซึม
ปริมาตรของปริซึม = พื้นที่ฐาน × สูง
ตัวอย่างโจทย์
Ex.1 ขันครึ่งทรงกลม วัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกปากขันได้ยาว 14 นิ้ว
ขันใบนี้มีพื้นที่ผิวภายนอกเท่าไร
วิธีทำ ขันมีรัศมี 7 นิ้ว
พื้นที่ผิวครึ่งทรงกลม = 2¶r2
=
2 × 22/7 × 7 × 7
=
308 ตารางนิ้ว
ดังนั้น ขันใบนี้มีพื้นที่ผิวภายนอกเท่ากับ 308 ตารางนิ้ว
ตอบ 308 ตารางนิ้ว
Ex.2 ตะกั่วทรงกลม 3 ลูก มีรัศมี
3, 4 และ 5 นิ้ว ตามลำดับ
เมื่อหลอมเป็นลูกเดียวจะได้รัศมียาวกี่นิ้ว
วิธีทำ ให้ R แทนรัศมีของตะกั่วทรงกลมที่หลอมแล้ว
ปริมาตรตะกั่วทรงกลมที่หลอมแล้ว = ผลบวกของปริมาตรตะกั่วทรงกลม 3 ลูก
4/3¶R3 = (4/3¶ × 33)
+(4/3¶ ×43) + (4/3¶ × 53)
4/3¶R3 = 4/3¶
× (33 + 43 + 53)
R3 =
33 + 43 + 53
R3 =
216
R
= 6
ดังนั้น ตะกั่วทรงกลมที่หลอมแล้วมีรัศมียาว 6 นิ้ว
ตอบ 6 นิ้ว
ที่มา
- http://www.thaigoodview.com/node/46868?page=0%2C7
- https://sites.google.com/site/oomawikamay/khnitsastr-phun-than-lekh-hlak/bth-thi-1-phunthi-phiw-laea-primatr
- www.thaigoodview.com
- www.myfirstbrain.com
วันที่ 10 กันยายน 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น